อาหารกับการดำรงชีวิต
อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานได้ไม่เป็นพิษและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรค
สารอาหาร คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของอาหารเป็นสิ่งที่กินเข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน ใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้ในกิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต มี 6 ชนิด คือ คาร์โบโฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ และน้ำ
สารอาหารทั้ง 6 ชนิด
1.คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ข้าว เผือก มัน และอ้อย
2.โปรตีน ได้แก่ เนื้อ ไข่ นม และถั่ว
3.ไขมัน ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน แหล่งที่มาทั้งจากสัตว์และพืช
4.วิตามิน ได้แก่ ผัก และผลไม้
5.แร่ธาตุ ได้แก่ ผัก และผลไม้
6.น้ำ ได้แก่ น้ำเปล่า และน้ำแร่
* สารอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายและสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
- สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน- สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ
- สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
1. คาร์โบไฮเดรต
- พบในแป้งและน้ำตาล- เมื่อย่อยแล้วได้โมเลกุลที่เล็กที่สุด คือ กลูโคส
- ให้พลังงาน 4 kcal/g
- ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมไว้เป็นแหล่งพลังงานซึ่งสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและตับทั้งแป้งและไกลโคเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสเพื่อใช้เผาผลาญพลังงานในยามที่เราต้องการ
- ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายควรได้รับขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานของแต่ละบุคคล กล่าวคือพลังงาน 50-60% ได้มาจากคาร์โบไฮเดรต
ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
1.ให้พลังงานแก่ร่างกาย
2.ช่วยทำให้ไขมันเผาผลาญได้สมบูรณ์
3.เก็บสะสมไว้ในร่างกาย เพื่อนำไปใช้เวลาขาดแคลน
ผลของการขาดคาร์โบไฮเดรต จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ตาลาย
2. โปรตีน
- พบในกลุ่ม เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว
- เมื่อย่อยแล้วได้กรดอะมิโน
- ให้พลังงาน 4 kcal/g
- ร่างกายเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
- กรดอะมิโนมีอยู่ 8 ชนิดที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น
ปริมาณของโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับ
เด็ก ปริมาณ 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ผู้ใหญ่ ปริมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ประโยชน์ของโปรตีน
1.ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
2.เป็นองค์ประกอบของสาระสำคัญต่างๆในการสร้างเอนไซม์ ฮอร์โมนและสารภูมิคุ้มกัน
ผลของการขาดโปรตีน
- เด็ก ถ้าหากขาดโปรตีนอย่างมากจะทำให้เกิดโรคคะวาซิออร์กอร์(kwashiokor) มีอาการอ่อนเพลีย บวม ตับโต
- ผู้ใหญ่ ซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรง ฟื้นจากโรคได้ช้า
- ไขมันมี 2 ประเภทคือ ไขมันธรรมดา ได้แก่ ไขมันสัตว์และน้ำมันพืช และไขมันพิเศษ เช่น ไข่แดง
- เมื่อย่อยแล้วได้กรดไขมันกับกลีเซอรอล
- ให้พลังงาน 9 kcal/g
- ช่วยละลายวิตามิน A D E และ
- คอเลสเตอรอล เป็นไขมันพิเศษที่ตับสร้างขึ้นได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากจะทำให้ไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือด เป็นสาเหตุ- ให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน
- ถ้ารับประทานไขมันในปริมาณมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนและความดันโลหิตสูงได้
- ช่วยละลายวิตามิน A D E และ
- คอเลสเตอรอล เป็นไขมันพิเศษที่ตับสร้างขึ้นได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากจะทำให้ไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือด เป็นสาเหตุ- ให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน
- ถ้ารับประทานไขมันในปริมาณมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนและความดันโลหิตสูงได้
ประโยชน์ของไขมัน
1.เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
2.ไขมันที่สะสมไว้ใต้ผิวหนังเป็นฉนวนป้องกันความร้อนไม่ให้สูญเสียออกจากร่างกาย
3.เป็นส่วนประกอบของเซลล์ประสาทเยื่อหุ้มเซลล์
ผลของการขาดไขมัน
1.ผิวหนังแห้งแตกเป็นแผล และเป็นโรคผิวหนังได้ง่าย
2.ทำให้อาหารไม่อยู่ท้อง คือ หิวง่าย
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ 9 ดังนี้
1) กินอาหารครบ 5 หมู่
2) กินข้าวเป็นอาหารหลัก
3) กินพืชผักให้มาก
4) กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5) ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6) กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7) หลีกเลี่ยงการกินอาหรรสหวานจัดและเค็มจัด
8) กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
9) งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ธงโภชนาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น